Connect to DB
  หัวข้อ : "ประชาชนคิดอย่างไรต่อกรณี ส.ส.พรรคไทยรักไทยออกมาเคลื่อนไหวเพื่อขับไล่นายประมวล รุจนเสรี"
  วัตถุประสงค์ในการสำรวจ :.
 

             เพื่อทราบข้อมูลและความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลในประเด็นต่อไปนี้
                1. การให้ความสนใจติดตามข่าวกรณี ส.ส.พรรคไทยออกมาเคลื่อนไหวเพื่อขับไล่นายประมวล รุจนเสรี ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ
ออกจากพรรค
                2. การเขียนหนังสือเรื่อง “ พระราชอำนาจ ” รวมถึงการออกมาวิจารณ์การเสนอชื่อผู้ว่าการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินคนใหม่
แทนคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ของนายประมวล เป็นการกระทำที่เหมาะสมหรือไม่
                3. นายประมวลสมควรถูกขับออกจากพรรคไทยรักไทยหรือไม่
                4. คิดว่ารัฐบาลมีส่วนเกี่ยวข้องกับการปลดคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ออกจากการเป็นผู้ว่าการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน
แล้วเสนอชื่อนายวิสุทธิ์ มนตริวัต ขึ้นดำรงตำแหน่งแทนหรือไม่
                5. เหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลต่อคะแนนนิยมของพรรคไทยรักไทยหรือไม่อย่างไร
                6. ความรู้สึกที่มีต่อพรรคไทยรักไทยในปัจจุบัน

  ระเบียบวิธีการสำรวจ :
              การสุ่มตัวอย่าง
                  การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่ทราบข่าวกรณี ส.ส.พรรคไทยรักไทย
ออกมาเคลื่อนไหวเพื่อขับไล่นายประมวล รุจนเสรี ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อออกจากพรรค โดยการสอบถามข้อมูลทางโทรศัพท์และการลงพื้นที่
เก็บข้อมูลโดยพนักงานสัมภาษณ์ ได้ตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,098 คน   เป็นชายร้อยละ 50.6    หญิงร้อยละ 49.4    อายุ 18-25 ปีร้อยละ 30.1
อายุ 26-35 ปีร้อยละ 27.1    อายุ 36-45 ปีร้อยละ 23.9    และอายุ 46 ปีขึ้นไปร้อยละ 18.9
             กลุ่มตัวอย่างมีการศึกษาระดับประถมศึกษาร้อยละ 12.8    มัธยมศึกษาและปวช.ร้อยละ 31.0    ปวส.และอนุปริญญาร้อยละ 9.1
ปริญญาตรีร้อยละ 43.5    และสูงกว่าปริญญาตรีร้อยละ 3.6
             กลุ่มตัวอย่างประกอบอาชีพรับราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจร้อยละ 10.8    พนักงานลูกจ้างบริษัทเอกชนร้อยละ 24.7    ค้าขายและ
ธุรกิจส่วนตัวร้อยละ 23.5    รับจ้างทั่วไปร้อยละ 8.7    พ่อบ้าน แม่บ้าน และเกษียณอายุร้อยละ 8.6    นิสิต นักศึกษา ร้อยละ 15.7    อาชีพอิสระ
ร้อยละ 5.1    และอื่นๆ ร้อยละ 2.9
  ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error) : ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน +- 4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
  วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล : . การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
  ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล :   8 - 9  กันยายน 2548
  วันที่เผยแพร่ข้อมูล : . 9   กันยายน  2548
  สำรวจโดย : ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776  http://research.bu.ac.th/poll/poll_list.php
  ผลการสำรวจ :
 
             1. เมื่อถามถึงความสนใจติดตามข่าวที่นายประมวล รุจนเสรี ส.ส.บัญชีรายชื่อของพรรคไทยรักไทย ออกมาแสดง ความเห็นเรื่อง
การเสนอชื่อผู้ว่าการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) แทนคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา รวมทั้งการออกหนังสือ “ พระราชอำนาจ ” จนทำให้
ส.ส.พรรคไทยรักไทยออกมาเคลื่อนไหวเพื่อขับไล่ออกจากพรรค พบว่า มีประชาชนที่สนใจติดตามข่าวดังกล่าวร้อยละ 67.4    และ
ไม่สนใจติดตามร้อยละ 32.6
               2. กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 50.8 เห็นว่าการกระทำของนายประมวล รุจนเสรี เป็นเรื่องที่เหมาะสมเพราะทำเพื่อ
ผลประโยชน์ของประเทศชาติส่วนรวมและไม่ได้มุ่งโจมตีพรรคไทยรักไทย
   ขณะที่ร้อยละ 45.2 เห็นว่าไม่เหมาะสมเพราะ
ในฐานะที่เป็น ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อของพรรคไทยรักไทยควรแสดงความคิดเห็นผ่านพรรค    และร้อยละ 4.0 ไม่แสดงความเห็น
               3. เมื่อถามว่า นายประมวล รุจนเสรี สมควรถูกขับออกจากพรรคไทยรักไทยหรือไม่ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คือ
ร้อยละ
55.7 เห็นว่าไม่สมควร    ขณะที่ร้อยละ 40.3 เห็นว่าสมควร    และร้อยละ 4.0 ไม่แสดงความเห็น
 
             4. กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 63.6 เชื่อว่ารัฐบาลมีส่วนเกี่ยวข้องกับการปลดคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ออกจากตำแหน่ง
ผู้ว่าการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) แล้วเสนอแต่งตั้งนายวิสุทธิ์ มนตริวัต ขึ้นดำรงตำแหน่งแทน
  ขณะที่อีกร้อยละ
32.1 เชื่อว่ารัฐบาลไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว    และร้อยละ 4.3 ระบุว่าไม่แน่ใจ
 
             5. กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 55.8 เห็นว่ากรณีที่เกิดขึ้นจะส่งผลให้คะแนนนิยมของพรรคไทยรักไทยลดลง    ขณะที่ร้อยละ
38.6 เห็นว่าเรื่องดังกล่าวจะไม่ส่งผลต่อคะแนนนิยมของพรรคไทยรักไทย    มีเพียงร้อยละ 5.6 ที่เห็นว่าคะแนนนิยมของพรรคไทยรักไทย
จะเพิ่มขึ้น
 
             6. สำหรับความรู้สึกที่มีต่อพรรคไทยรักไทยในปัจจุบันนั้น ประชาชนร้อยละ 37.7 มีความรู้สึกในทางที่ไม่ดี อาทิ
รู้สึกผิดหวัง ดีแต่สร้างภาพ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้องมากกว่าประเทศชาติ ความน่าเชื่อถือลดลง และมีปัญหา
แตกแยกในพรรค เป็นต้น
   ขณะที่ร้อยละ 36.8 มีความรู้สึกในทางที่ดี อาทิ คิดว่าดีที่สุดในบรรดาตัวเลือกที่มีอยู่ ยังมีส่วนดีมากกว่าส่วนไม่ดี
บริหารประเทศได้ดี และชื่นชอบหัวหน้าพรรค เป็นต้น    ส่วนอีกร้อยละ 18.8 รู้สึกว่ามีทั้งส่วนที่ดีและไม่ดีพอๆ กัน    และร้อยละ 6.7
ไม่แสดงความเห็น
 
 
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
     
   

ตารางที่ 1 : ข้อมูลประชากรศาสตร์

   
 
 จำนวน
ร้อยละ
เพศ :
            ชาย
556
50.6
            หญิง
542
49.4
อายุ :
            18 – 25 ปี
330
30.1
            26 – 35 ปี
298
27.1
            36 – 45 ปี
262
23.9
            46 ปีขึ้นไป
208
18.9
การศึกษา :
             ประถมศึกษา 140 12.8
             มัธยมศึกษา / ปวช. 340 31.0
             ปวส. / อนุปริญญา 100 9.1
             ปริญญาตรี 478 43.5
             สูงปริญญาตรี 40 3.6
อาชีพ :
             ข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ 118 10.8
             พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน 272 24.7
             ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว 258 23.5
             รับจ้างทั่วไป 96 8.7
             พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ 94 8.6
             นิสิต/นักศึกษา 172 15.7
             อาชีพอิสระ 56 5.1
             อื่น ๆ 32 2.9
     
 

ตารางที่ 2: การให้ความสนใจติดตามข่าวเรื่อง ส.ส.พรรคไทยรักไทยออกมาเคลื่อนไหวเพื่อขับไล่
              
นายประมวล รุจนเสรี ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อออกจากพรรค

   
  จำนวน ร้อยละ
สนใจติดตาม
740
67.4
ไม่สนใจติดตาม
358
32.6
     
   

ตารางที่ 3: การที่นายประมวล รุจนเสรี ในฐานะ ส.ส.บัญชีรายชื่อของพรรคไทยรักไทยออกมาแสดง
              
 ความเห็นกรณีการแต่งตั้งโยกย้ายนายทหารและการเสนอชื่อผู้ว่าการสำนักงานตรวจเงิน
              
 แผ่นดินคนใหม่ แทนคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา รวมทั้งออกหนังสือ “พระราชอำนาจ”
                เป็นการกระทำที่เหมาะสมหรือไม่

   
  จำนวน ร้อยละ
เหมาะสม
558
50.8
ไม่เหมาะสม
496
45.2
ไม่แสดงความคิดเห็น
44
4.0
     
   

ตารางที่ 4 : การกระทำดังกล่าวของนายประมวล รุจนเสรี สมควรถูกขับออกจากพรรคไทยรักไทยหรือไม่

   
  จำนวน ร้อยละ
สมควร
442
40.3
ไม่สมควร
612
55.7
ไม่แสดงความเห็น
44
4.0
     
   

ตารางที่ 5: คิดว่ารัฐบาลมีส่วนเกี่ยวข้องกับการปลดคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ออกจากการเป็น
               
ผู้ว่าการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินแล้วเสนอชื่อนายวิสุทธิ์ มนตริวัต ขึ้นดำรงตำแหน่งแทน
               
หรือไม่

   
  จำนวน ร้อยละ
มีส่วนเกี่ยวข้อง
698
63.6
ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง
352
32.1
ไม่แน่ใจ
48
4.3
   
   

ตารางที่ 6 : คิดว่าการที่ ส.ส.ของพรรคไทยรักไทยออกมาเคลื่อนไหวขับไล่นายประมวล รุจนเสรี
                
ส่งผลต่อคะแนนนิยมของพรรคไทยรักไทยหรือไม่อย่างไร

   
  จำนวน ร้อยละ
คะแนนนิยมเพิ่มขึ้น
62
5.6
คะแนนนิยมลดลง
612
55.8
ไม่ส่งผลต่อคะแนนนิยม
424
38.6
   
   

ตารางที่ 7 : ความรู้สึกต่อพรรคไทยรักไทยในปัจจุบัน

   
  จำนวน ร้อยละ
มีความรู้สึกในทางที่ดี เช่น
          - ทำงานบริหารประเทศได้ดี
          - ยังมีส่วนดีมากกว่าส่วนไม่ดี
          - ดีที่สุดในบรรดาตัวเลือกที่มีอยู่
          - ยังเชื่อมั่นในฝีมืออยู่
          - แก้ปัญหาเศรษฐกิจได้ดี
          - ช่วยเหลือคนจน
          - ผลงานยังดีอยู่
          - ชื่นชอบหัวหน้าพรรค
404








36.8








มีความรู้สึกในทางที่ไม่ดี เช่น
          - รู้สึกผิดหวัง
          - ความน่าเชื่อถือลดลง/แย่ลงเรื่อย
          - ไม่น่าไว้วางใจ
          - ยึดประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้องมากกว่าประเทศชาติ
          - ไม่น่าเลื่อมในเสมือนสมัยแรก
          - ดีแต่สร้างภาพ
          - มีปัญหาแตกแยกภายในพรรคมากเกิดไป
414







37.7







รู้สึกว่ามีทั้งส่วนที่ดีและไม่ดีพอๆ กัน
206
18.8
ไม่แสดงความคิดเห็น
74
6.7
   
สามารถทำการ Vote ได้วันละ 1 ครั้ง
Vote :  ดีมาก(5) ดี (4) ปานกลาง(3) พอใช้ (2) แย่ (1)  
Download document file :   (  )

ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ ( Email: research@bu.ac.th )

โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776